ITA 2024-09-1-02

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อ 02 อำนาจหน้าที่และพื้นที่รับผิดชอบ

อำนาจหน้าที่


บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของสายงานต่างๆ ในระดับหน่วยงาน

    สถานีตำรวจ มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดในคดีอาญา ภายในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง รวมตลอดถึงการรับผิดชอบในด้านการงาน และการปกครองบังคับบัญชาถัดรองลงไปจากกองบังคับการตำรวจ นครบาล (1-9) หรือตำรวจภูธรจังหวัด เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงภายใน บริการทางสังคม ชุมชน และมวลชนสัมพันธ์ การพัฒนางานบริหารและงานจเรตำรวจ การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมตลอดจนถึงงานกิจการพิเศษ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานีตำรวจ งานในสถานีตำรวจ แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ดังนี้ คือ

    1. งานอำนวยการ

    มีหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยการ การวางแผน การตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานของสถานีตำรวจ งานการบริหารบุคลากร งานจเรตำรวจ งานกิจการพิเศษ งานความมั่นคง การศึกษาการฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนา การบริหารจัดการ งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและ สรรพวุธ การส่งกำลังบำรุง รวมทั้งลักษณะงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานดังกล่าว เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ

    2. งานป้องกันปราบปราม

    งานป้องกันปราบปรามรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนอํานวยการ สั่งการ ควบคุม กํากับ ดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งเป็นการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ งานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตํารวจ งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ ในเขตพื้นที่ของสถานีตํารวจ เพื่อมิให้เกิด อาชญากรรมขึ้น

    3. งานจราจร

    มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลงานด้านการควบคุมจราจร จัดการและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับจราจร งานจราจรตามโครงการพระราชดำริ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการจราจร ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ ตลอดจนพื้นที่ที่มีการจราจรต่อเนื่องกัน

    4. งานสืบสวน

    มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการสืบสวน ปราบปราม อาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ

    5. งานสอบสวน

    มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลด้านการสอบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือการเห็นแย้งในคดีอาญา การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ



พื้นที่รับผิดชอบ

อำเภอคีรีรัฐนิคมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ท่าขนอน   (Tha Khanon)   15 หมู่บ้าน  
2. บ้านยาง   (Ban Yang)   11 หมู่บ้าน  
3. น้ำหัก   (Nam Hak)   11 หมู่บ้าน  
6. กะเปา   (Kapao)   10 หมู่บ้าน  
7. ท่ากระดาน   (Tha Kradan)   9   หมู่บ้าน  
8. ย่านยาว   (Yan Yao)   10 หมู่บ้าน  
9. ถ้ำสิงขร   (Tham Singkhon)   10 หมู่บ้าน  
10. บ้านทำเนียบ   (Ban Thamniap)   9   หมู่บ้าน  

อำเภอคีรีรัฐนิคม              

            ทิศเหนือ              ติดต่อกับอำเภอวิภาวดี   จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            ทิศใต้                   ติดต่อกับอำเภอเคียนซา , อำเภอพนม   จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

            ทิศตะวันออก       ติดต่อกับอำเภอพุนพิน   จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            ทิศตะวันตก          ติดต่อกับอำเภอบ้านตาขุน   จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ อำเภอกะเปอร์   จังหวัดระนอง

จำนวน ประชากร

       รวมทั้งสิ้น  44,114  คน  แยกเป็น 

                                    – ชาย   21,966  คน 

                                    – หญิง  22,148  คน

        ประชากรแฝง ประมาณ  3,000 – 3,500  คน

ข้อมูล  ณ 31 มีนาคม 2567